วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมือง

พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรักจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม

  


พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หรือในชื่อเดิมว่า รวมชาติพัฒนา และ รวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกจากพรรคการเมืองที่เคยมีอยู่แล้ว อาทิ กลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นต้น จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยรวม กลุ่มรวมใจไทย เข้ากับ พรรคชาติพัฒนา มีบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคนเข้าร่วม เช่น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, ดร.พิจิตต รัตตกุล, รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, นายอุทัย พิมพ์ใจชน, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นต้น
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่ทำการพรรคได้มีมติให้ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค มี นายเกษมสันต์ วีระกุล เป็นรองหัวหน้าพรรค และมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค
ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค และหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา รวมถึงการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สัดส่วน หลังจากที่ได้เลือก พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดกับมติของพรรคที่ให้เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเจ้าตัวยอมรับว่ารู้สึกไม่สบายใจ ที่มีความเห็นต่างจากพรรค แต่เห็นว่าบ้านเมืองขณะนี้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย จึงอยากให้คนกลางเข้ามาบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก และเชื่อว่ารัฐบาลคงจะบริหารงานลำบาก แต่ก็ขอให้ ส.ส. ทำหน้าที่โดยยึดหลักของกฎหมาย
ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "รวมชาติพัฒนา" พร้อมกับเปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ด้วยเป็นรูปรูปหัวช้างจรดปลายงวงช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์คู่บ้านเมือง ประกอบขึ้นด้วยแถบสีธงไตรรงค์ ปลายงวงบรรจบด้วยรูปวงกลมสีทอง หมายถึงสุวรรณภูมิอันเป็นศูนย์รวมของชาติไทย


พรรคประชากรไทย (อังกฤษ: Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวัง โดยมีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด
ต่อมาเมื่อพรรคประชากรไทยได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 จึงได้ส่งข้อมูลสมาชิกและการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง และปรากฎวันจดทะเบียนพรรคตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันที่ ขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 [1] จนกระทั่งเมื่อเกิดมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พรรคจึงได้จัดส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกกต.โดยตรงในฐานะนาย ทะเบียนพรรคการเมืองตามกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยจะได้จัดส่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้กับคณะกรรมการการเลือก ตั้งต่อไป
พรรคประชากรไทย จัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปี พ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ด้วย ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้ลงสมัครในนามของพรรค
พรรคประชากรไทย ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้สักที่นั่งเดียว
ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. มีสมาชิกพรรคจำนวนกว่า 70,054 คน ซึ่งมาเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทยรองจากประชาธิปัตย์ มหาชน และไทยเป็นไท







พรรครักประเทศไทย (อังกฤษ: Rak Thailand Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค


พรรคพลังชล เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 นำโดยสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรีหลายสมัย พร้อมด้วยอดีต ส.ส.กลุ่มชลบุรี ซึ่งแต่เดิมสมาชิกในกลุ่มชลบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
พรรคพลังชล มีรองศาสตราจารย์ เชาว์ มณีวงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคพลังชลมีคำขวัญว่า "เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน" โดยมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก



พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา
ปัจจุบัน พรรคประชาปัตย์เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน










พรรครักษ์สันติ (อังกฤษ: RAK SANTI PARTY) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยมีศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค มีพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีรองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรครักษ์สันติมีแนวความคิดที่จะแยกกรรมการบริหารพรรค ออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค เพื่อแยกงานอำนวยการกับงานการเมืองออกจากกัน
พรรครักษ์สันติ มีคำขวัญว่า "สามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง" มุ่งดำเนินแนวนโยบายในการเป็นพรรคทางเลือก และเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนักการเมือง นักวิชาการ และผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานกับพรรค อาทิ ผศ.ดร.นพดล อินนา รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน วีระชัย ไชยวรรธนะ พันธ์เลิศ ใบหยก พญ.วิวรรณ นิติวรางกูร นพ.ประจวบ อึ๊งภากร พีระพงศ์ สาคริก และ รศ.นงลักษณ์ วัฒนสิงหะ



พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[2] โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ



พรรคไทยเป็นไท (Thais is Thai Party - TIP.) เป็นพรรคการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในชื่อ พรรคเกษตรมหาชน โดย นายชูชาติ ประธานธรรม (ชื่อเดิม "ปราบสะดา หมีเทศ" หรือ กุศล หมีเทศ หรือ "กุศล หมีเทศทอง" หรือ "ดารัณ หมีเทศ" ) เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคนขอปลดหนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2546
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคคนขอปลดหนี้ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทยเป็นไท
ปัจจุบันพรรคไทยเป็นไท มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 326,357 คน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคมหาชน มีนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่
รักษาการหัวหน้าพรรค



พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) ก่อตั้งเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มี นายพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก นายมงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และนางวันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก [2]
ในปัจจุบันมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค นางพรทิวา นาคาศัย เป็นเลขาธิการพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร เป็นโฆษกพรรค





พรรคแทนคุณแผ่นดิน (อังกฤษ: Thaen Khun Phaendin Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดย กลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน นำโดยวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย ที่แยกตัวออกมาพรรคพลังประชาชน เนื่องจากนายวิวรรธนไชยอ้างว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เคยพูดจาดูถูกคนอีสานไว้ในอดีต จึงไม่อาจยอมรับได้
เดิมจะใช้ชื่อว่า พรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน เนื่องจากมีเป้าหมายจะเป็นพรรคที่มีบทบาทในพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะ แต่ต่อมาได้ยุบเลิกไป และจัดตั้ง พรรคแทนคุณแผ่นดิน ขึ้นมาใหม่ โดยมี ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าพรรค
พรรคแทนคุณแผ่นดิน มีสมาชิกจำนวนกว่า 6,174 คน สาขาจำนวน 5 สาขา มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ โดยมีนายวิชัย ศิรินคร เป็นหัวหน้าพรรค








พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (The Farmer Network of Thailand Party) ตัวย่อ : พนท. เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549[1]
เป็นพรรคที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเปลี่ยนสถานะจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีเจตนารมย์จะเป็นพรรคการเมืองภาคประชาชน มุ่งเน้นนโยบายไปที่เกษตรกรและชั้นชนใช้แรงงานในสังคม



พรรคการเมืองใหม่ (อักษรย่อ: ก.ม.ม. อังกฤษ: New Politics Party - NPP) รหัสบริจาคภาษีให้พรรค 076 เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยมีพื้นฐานมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค และ พล.ร.ท. ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค
ปัจจุบัน มีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากการลาออกไปของนายสนธิ ลิ้มทองกุล[1]
สีประจำพรรค คือ สีเหลือง หมายถึงการเชิดชูประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสีเขียวหมายถึงการเมืองสะอาดปลอดมลพิษ






พรรคชาติไทยพัฒนา ก่อตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2551 มี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค[2] นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร เป็นเลขาธิการพรรค นายวัชระ กรรณิการ์ เป็นโฆษกพรรค


พรรคประชาสันติ (อังกฤษ: Civil Peace Party ตัวย่อ : CPP. ปส.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยมีแกนนำคนสำคัญคือ เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และอดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550



พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party, ย่อว่า ควม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นเลขาธิการพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง
พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน





พรรคพลังคนกีฬา (อังกฤษ: Sport Party of Thailand ตัวย่อ: S.P.O.T. พ.ก.) เป็นพรรคการเมืองไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552[1] โดยมีนายวนัสธนา สัจจกุล เป็นหัวหน้าพรรค และนายวิรุณ เกิดชูสกุล เป็นเลขาธิการพรรค โดยมีนโยบายหลักเพื่อพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ




พรรคมหาชน (อังกฤษ: Mahachon Party ตัวย่อ: MCP. พมช.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคราษฎร"[1] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคมหาชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[2] เป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1.1 ล้านคน[3]

พรรคมาตุภูมิ (อังกฤษ: Matubhum Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดิมชื่อพรรคราษฎร และเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 [2] ในระยะแรกพรรคราษฎร ยังไม่มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด
ต่อมากิจการของพรรคมาตุภูมิ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยสมาชิก ส.ส.กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำของนายวัฒนา อัศวเหม ย้ายเข้ามาสังกัดพรรค[3]
นอกจากนี้แล้ว พรรคมาตุภูมิ ยังมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีข่าวว่ามีการเชิญ พลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นประธานพรรค[4] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา[5]

พรรคไทยสร้างสรรค์ (ตัวย่อ ท.ส. อังกฤษ: Thai Sangsun Party: T.S.) เป็นพรรคการเมืองพรรคหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2553[2] ปัจจุบันมีนายปวิตร ปานสถิตย์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีสมาชิกอยู่ 37 คน และไม่มีสาขาพรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น