วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน




ASEAN Community คืออะไร
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

  2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
          (ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
         (ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
          (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
          (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
     กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
      ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (
Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.
วิศวกรรม (Engineering Services) 
2.
พยาบาล (Nursing Services) 
3.
สถาปัตยกรรม (Architectural Services) 
4.
การสำรวจ (Surveying Qualifications) 
5.
แพทย์ (Medical Practitioners) 
6.
ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) 
7.
บัญชี (Accountancy Services)


วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานชิ้นพิเศษ

มรดกโลก
 
มรดกโลก (อังกฤษWorld Heritage Siteฝรั่งเศสPatrimoine Mondial)คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น

การแบ่งประเภทของมรดกโลก
           มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก 

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ   และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา  ได้แก่ สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติแล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลกทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ


มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้

            ปัจจุบัน (พุทธศักราช ๒๕๕๓) มีมรดกโลกทั้งหมด ๙๓๖ แห่ง ใน ๑๕๑ ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๗๒๕ แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ ๑๘๓ แห่ง และอีก ๒๘ แห่ง  เป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา  อาหรับ  เอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป-อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา-แคริบเบียน 


พื้นที่
มรดกโลก
ธรรมชาติ
วัฒนธรรม
ผสม
ทั้งหมด
๓๓
๔๕
๘๒
๖๔
๗๐
๕๒
๑๔๓
๒๐๔
๕๙
๓๘๕
๑๐
๔๕๔
๓๕
๘๘
๑๒๖
  รวม
๑๘๓
๗๒๕
๒๘
๙๓๖

มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก

            ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐– ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕


ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้
แงวัฒนธรรม ๓ แห่ง
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง


            และยังมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใน    “บัญชีรายชื่อเบื้องต้น”   (Tentative List)  รอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกอีก ๒ แห่ง ได้แก่
     1. ปราสาทพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น” (Tentative List)  ของยูเนสโก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และรอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อแหล่งว่า ปราสาทหินพิมายและเส้นทางวัฒนธรรม และปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ” (Phimai, its Cultural Rout and the Associated  Temples of Phanomroong and Muangtam)
     2. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใน บัญชีรายชื่อเบื้องต้น
( Tentative List)
 ของยูเนสโก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และรอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อแหล่งว่า อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
” ( Phuphrabat Historical Park)

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก

   ไทยถอนมรดกโลก!ชี้ยูเนสโกไม่ฟังข้อทักท้วง
ข่าวต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ 26 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 01:02 น.

สุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก ชี้
ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทยดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่รุกล้ำอธิปไตยของไทย ยันคณะกรรมการมรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้า
คณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นภาคีคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว หลัง ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทย ดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา โดยการลาออกดังกล่าวของไทย ทำให้ชาติสมาชิกค่อนข้างตกใจ
เพราะ
ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากคณะกรรมการนี้ โดยฝ่ายไทยเห็นว่า
คณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังข้อทักท้วงของไทย ในการปรับแก้ข้อความและถ้อยคำในร่างมติการประชุมล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ตามข้อเสนอของกัมพูชา 
ซึ่งอาจจะกระทบถึงอธิปไตยของไทยบนเขาพระวิหาร
โดย หัวหน้าคณะฯไทย กล่าวว่า ไทยยอมรับไม่ได้เพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับเรื่องของดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ได้กล่าวว่า 
สิ่งที่ยูเนสโกตัดสินใจนั้นถือว่า ขัดกับอนุสัญญาของยูเนสโกเองโดยบอกว่าบอกการกระทำที่เกิดขึ้นของยูเนสโก จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้งบริเวณพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง รวมถึง ได้รับการอนุมัติจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
โดยนายสุวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า 
ไทยได้ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด2-3ปี รู้สึกเสียใจที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจ โดยบอกว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นชาติยุโรป ซึ่งคณะกรรมการไม่เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพรมแดน เพราะปัจจุบันยุโรปนั้นไร้พรมแดน เลยเห็นเรื่องวัตถุสิ่งของโบราณสถานสำคัญกว่า เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในอนุสัญญามรดกโลกมาตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อ ปีก่อน ทั้งที่กัมพูชากับไทยยังมีปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับมีท่าทีที่จะยอมรับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามาในการประชุมปีนี้ ซึ่งเนื้อหาและแผนผังแนบท้ายระบุชัดเจนว่าจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างในเขตแดนของไทย
นายสุวิทย์ กล่าวว่า การถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที ซึ่งจากนี้ไปคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชา ก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้ การถอนตัวครั้งนี้ยังมีผลให้นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็น ใน 21 คณะกรรมการมรดกโลก พ้นจากตำแหน่งไปด้ว

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมือง

พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรักจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม

  


พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หรือในชื่อเดิมว่า รวมชาติพัฒนา และ รวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกจากพรรคการเมืองที่เคยมีอยู่แล้ว อาทิ กลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นต้น จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยรวม กลุ่มรวมใจไทย เข้ากับ พรรคชาติพัฒนา มีบุคคลสำคัญทางการเมืองหลายคนเข้าร่วม เช่น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, ดร.พิจิตต รัตตกุล, รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, นายอุทัย พิมพ์ใจชน, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นต้น
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่ทำการพรรคได้มีมติให้ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค มี นายเกษมสันต์ วีระกุล เป็นรองหัวหน้าพรรค และมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค
ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค และหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา รวมถึงการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สัดส่วน หลังจากที่ได้เลือก พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดกับมติของพรรคที่ให้เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเจ้าตัวยอมรับว่ารู้สึกไม่สบายใจ ที่มีความเห็นต่างจากพรรค แต่เห็นว่าบ้านเมืองขณะนี้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย จึงอยากให้คนกลางเข้ามาบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก และเชื่อว่ารัฐบาลคงจะบริหารงานลำบาก แต่ก็ขอให้ ส.ส. ทำหน้าที่โดยยึดหลักของกฎหมาย
ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "รวมชาติพัฒนา" พร้อมกับเปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ด้วยเป็นรูปรูปหัวช้างจรดปลายงวงช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์คู่บ้านเมือง ประกอบขึ้นด้วยแถบสีธงไตรรงค์ ปลายงวงบรรจบด้วยรูปวงกลมสีทอง หมายถึงสุวรรณภูมิอันเป็นศูนย์รวมของชาติไทย


พรรคประชากรไทย (อังกฤษ: Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวัง โดยมีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด
ต่อมาเมื่อพรรคประชากรไทยได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 จึงได้ส่งข้อมูลสมาชิกและการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง และปรากฎวันจดทะเบียนพรรคตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันที่ ขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 [1] จนกระทั่งเมื่อเกิดมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พรรคจึงได้จัดส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกกต.โดยตรงในฐานะนาย ทะเบียนพรรคการเมืองตามกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยจะได้จัดส่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้กับคณะกรรมการการเลือก ตั้งต่อไป
พรรคประชากรไทย จัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปี พ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ด้วย ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้ลงสมัครในนามของพรรค
พรรคประชากรไทย ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้สักที่นั่งเดียว
ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. มีสมาชิกพรรคจำนวนกว่า 70,054 คน ซึ่งมาเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทยรองจากประชาธิปัตย์ มหาชน และไทยเป็นไท







พรรครักประเทศไทย (อังกฤษ: Rak Thailand Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค


พรรคพลังชล เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 นำโดยสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรีหลายสมัย พร้อมด้วยอดีต ส.ส.กลุ่มชลบุรี ซึ่งแต่เดิมสมาชิกในกลุ่มชลบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
พรรคพลังชล มีรองศาสตราจารย์ เชาว์ มณีวงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคพลังชลมีคำขวัญว่า "เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน" โดยมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก



พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา
ปัจจุบัน พรรคประชาปัตย์เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน










พรรครักษ์สันติ (อังกฤษ: RAK SANTI PARTY) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยมีศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค มีพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีรองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรครักษ์สันติมีแนวความคิดที่จะแยกกรรมการบริหารพรรค ออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค เพื่อแยกงานอำนวยการกับงานการเมืองออกจากกัน
พรรครักษ์สันติ มีคำขวัญว่า "สามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง" มุ่งดำเนินแนวนโยบายในการเป็นพรรคทางเลือก และเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนักการเมือง นักวิชาการ และผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานกับพรรค อาทิ ผศ.ดร.นพดล อินนา รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน วีระชัย ไชยวรรธนะ พันธ์เลิศ ใบหยก พญ.วิวรรณ นิติวรางกูร นพ.ประจวบ อึ๊งภากร พีระพงศ์ สาคริก และ รศ.นงลักษณ์ วัฒนสิงหะ



พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[2] โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ



พรรคไทยเป็นไท (Thais is Thai Party - TIP.) เป็นพรรคการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในชื่อ พรรคเกษตรมหาชน โดย นายชูชาติ ประธานธรรม (ชื่อเดิม "ปราบสะดา หมีเทศ" หรือ กุศล หมีเทศ หรือ "กุศล หมีเทศทอง" หรือ "ดารัณ หมีเทศ" ) เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคนขอปลดหนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2546
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคคนขอปลดหนี้ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทยเป็นไท
ปัจจุบันพรรคไทยเป็นไท มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 326,357 คน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคมหาชน มีนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่
รักษาการหัวหน้าพรรค



พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) ก่อตั้งเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มี นายพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก นายมงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และนางวันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก [2]
ในปัจจุบันมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค นางพรทิวา นาคาศัย เป็นเลขาธิการพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร เป็นโฆษกพรรค





พรรคแทนคุณแผ่นดิน (อังกฤษ: Thaen Khun Phaendin Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดย กลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน นำโดยวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย ที่แยกตัวออกมาพรรคพลังประชาชน เนื่องจากนายวิวรรธนไชยอ้างว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เคยพูดจาดูถูกคนอีสานไว้ในอดีต จึงไม่อาจยอมรับได้
เดิมจะใช้ชื่อว่า พรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน เนื่องจากมีเป้าหมายจะเป็นพรรคที่มีบทบาทในพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะ แต่ต่อมาได้ยุบเลิกไป และจัดตั้ง พรรคแทนคุณแผ่นดิน ขึ้นมาใหม่ โดยมี ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าพรรค
พรรคแทนคุณแผ่นดิน มีสมาชิกจำนวนกว่า 6,174 คน สาขาจำนวน 5 สาขา มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ โดยมีนายวิชัย ศิรินคร เป็นหัวหน้าพรรค








พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (The Farmer Network of Thailand Party) ตัวย่อ : พนท. เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549[1]
เป็นพรรคที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเปลี่ยนสถานะจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีเจตนารมย์จะเป็นพรรคการเมืองภาคประชาชน มุ่งเน้นนโยบายไปที่เกษตรกรและชั้นชนใช้แรงงานในสังคม



พรรคการเมืองใหม่ (อักษรย่อ: ก.ม.ม. อังกฤษ: New Politics Party - NPP) รหัสบริจาคภาษีให้พรรค 076 เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยมีพื้นฐานมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค และ พล.ร.ท. ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค
ปัจจุบัน มีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากการลาออกไปของนายสนธิ ลิ้มทองกุล[1]
สีประจำพรรค คือ สีเหลือง หมายถึงการเชิดชูประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสีเขียวหมายถึงการเมืองสะอาดปลอดมลพิษ






พรรคชาติไทยพัฒนา ก่อตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2551 มี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค[2] นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร เป็นเลขาธิการพรรค นายวัชระ กรรณิการ์ เป็นโฆษกพรรค


พรรคประชาสันติ (อังกฤษ: Civil Peace Party ตัวย่อ : CPP. ปส.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยมีแกนนำคนสำคัญคือ เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และอดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550



พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party, ย่อว่า ควม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นเลขาธิการพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง
พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน





พรรคพลังคนกีฬา (อังกฤษ: Sport Party of Thailand ตัวย่อ: S.P.O.T. พ.ก.) เป็นพรรคการเมืองไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552[1] โดยมีนายวนัสธนา สัจจกุล เป็นหัวหน้าพรรค และนายวิรุณ เกิดชูสกุล เป็นเลขาธิการพรรค โดยมีนโยบายหลักเพื่อพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ




พรรคมหาชน (อังกฤษ: Mahachon Party ตัวย่อ: MCP. พมช.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคราษฎร"[1] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคมหาชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[2] เป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1.1 ล้านคน[3]

พรรคมาตุภูมิ (อังกฤษ: Matubhum Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดิมชื่อพรรคราษฎร และเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 [2] ในระยะแรกพรรคราษฎร ยังไม่มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด
ต่อมากิจการของพรรคมาตุภูมิ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยสมาชิก ส.ส.กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำของนายวัฒนา อัศวเหม ย้ายเข้ามาสังกัดพรรค[3]
นอกจากนี้แล้ว พรรคมาตุภูมิ ยังมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีข่าวว่ามีการเชิญ พลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นประธานพรรค[4] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา[5]

พรรคไทยสร้างสรรค์ (ตัวย่อ ท.ส. อังกฤษ: Thai Sangsun Party: T.S.) เป็นพรรคการเมืองพรรคหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2553[2] ปัจจุบันมีนายปวิตร ปานสถิตย์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีสมาชิกอยู่ 37 คน และไม่มีสาขาพรรค